วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"การดำรงชีวิตด้วยความเรียบง่ายอยู่บนรากฐานของความพอเพียง"

      ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มอภิปรายในหัวข้อ   "การดำรงชีวิตด้วยความเรียบง่ายอยู่บนรากฐานของความพอเพียงก่ิอให้้เกิดประโยชน์อย่างไร"
      ๑.ทำให้เรา้เป็นคนที่มีความพอประมาณ  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
      ๒.ทำให้เรา้เป็นคนที่มีความมีเหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
      ๓. ทำให้เรามีการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
      ๔. ทำให้เรามีความสามารถในการพึ่งตนเอง
      ๕. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด    
สมาชิกในกลุ่ม
๑.ปฐมาพร   ไชยสง  เลขทีู่๖
๒.พรนภา     พลเตชะ เลขที่ ๗

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

มารยาทในการพูด การฟัง และการดู

ข้อควรปฏิบัติตนให้เป็นผู้ที่มีมารยาทในการพูด   การฟัง  และการดู

๑. ควรสบตาผู้พูด  ไม่หลบสายตา  ฟังอย่างตั้งใจ
๒.ไม่พูดแทรก  หากจะถาืมให้ผู้พูดพูดจบก่อนจึงถาม
๓.ไม่พูดในเรื่องที่ไร้สาระ
๔.ดูในสิ่งที่เป็นสาระ   ที่เป็นประโยชน์
๕.ไม่พูดคำหยาบในเวลาที่นำเสนองาน
๖.ฟังในสิ่งที่เป็นประโยชน์
๗.ไม่พูดจาก้าวร้าว  เมื่่อไม่พอใจ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้่่าเจ้าอยู้หัว

Three  Things  to  Cultivate
สามสิ่งควรจะกระืำทำให้มี
Good Books                                           Good Friend                                          Good   Humour
หนังสือดี                                                  เพื่อนดี                                                  ใจเย็นดี
              
                 หนังสือสอนสั่งข้อ                              วิืทยา
        เว้นบาปเสาะกัลยาณ์                                  มิตรไว้
        หนึ่งขาดปราศโทสา                                   คติห่อ   ใจเฮย
        สามสิ่งควรมีให้                                           มากยั้งยืนเจริญ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ถอดคำประพันธ์ เรื่อง รามเกียรติื ตอน นารายณ์ปราบนนทก

ด้วยเดชนิ้วเพชรสิทธิศักดิ์
ขาหักล้มลงไม่ทนได้
นางกลายเป็นองค์นารายณ์ไป
เหยียบไว้จะสังหารราญรอน ฯ
ถอดความได้ว่า     ด้วยพลังของนิ้วเพชรชี้ที่ขาจึงล้มลง เทพอัปสรเป็นพระนารายณ์ กำลังจะฆ่านนทก
                  
                 
บัดนั้น
นนทกแกล้วหาญชาญสมร
เห็นพระองค์ทรงสังข์คทาธร
เป็นสี่กรก็รู้ประจักษ์ใจ
ว่าพระหริวงศ์ทรงฤทธิ์
ลวงล้างชีวิตก็เป็นได้
จึ่งมีวาจาถามไป
โทษข้าเป็นไฉนให้ว่ามา ฯ
ถอดความได้ว่า       จากนั้นนนทก    เห็นพระนารายณ์ถืออาวุธทั้งสี่มือ  พระนารายณ์จะฆ่าตน  จึงพูดว่าโทษมันหนักขนาด ไหนถึงได้มาฆ่ากันขนาดนี้

                  

ถอดคำประพันธ์ เรื่อง รามเกียรติ์

 ด้วยเดชนิ้วเพชรสิทธิศักดิ์              ขาหักล้มลงไม่ทนได้
นางกลายเป็นองค์นารายณ์ไป         เหยียบไว้จะสังหารราญรอน

แปลความได้ว่า     ด้วยเดชนิ้ว  ขาหักลง   กลายเป็นพระนารายณ์  เหยียบร่างไว้จะสังหาร



  บัดนั้น                                                       นนทกแกล้วหาญชาญสมร
เห็นพระองค์ทรงสังข์คทาธร                    เป็นสี่กรก็รู้ประจักษ์ใจ
ว่าพระหิวงศ์ทรงฤทธิ์                               ลวงล้างชีวิตก็เป็นได้
จึ่งมีวาจาถามไป                                       โทษข้าเป็นไฉนให้ว่ามา

แปลความได้ว่า   นนทกกล้าหาญ เห็นพระนารายณ์ จักรคทา
และธรณี
ว่าก่อนจะตายกุมภกรรณ  เห็นพระรามเป็นพระสี้กรทรงเทพอาวุธจักรสังข์ ทั้งตรีคทาศิลป์ศร จึงรู้ว่านารายณ์ฤทธิรอน จากกระเษียรสาครเสด็จมา ว่าพระนารายณ์ หริ จะทำลายชีวิต จึงมีคำถามถามไปว่า มีโทษอย่างไรให้ว่ามา

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยกตัวอย่างปฏิกิริยาในชีวิตประจำวัน

ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
 1) ปฏิกิริยาการสลายตัวของผงฟู (NaHCO3)      
                         ผงฟูหรือโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือเรียกกันทั่วไปว่า โซดาทำขนม มีประโยชน์ในการทำขนมหลายชนิด  เช่น   เค้ก ขนมถ้วยฟู   ขนมสาลี่ ขนมโดนัท    เมื่อผสมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) ลงในส่วนผสมของขนมแล้วนำไปนึ่งหรืออบ ผงฟู  จะสลายตัวให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งพยายามแทรกตัวออกมา ทำให้เกิดเป็นโพรงอากาศอยู่ทั่วไปในขนม ขนมจึงมีลักษณะพองหรือฟูขึ้น ใส่ในน้ำต้มผักทำให้ผักมีสีเขียว


 2) ปฏิกิริยาในน้ำโซดาและน้ำอัดลม                          
                                       น้ำโซดามีส่วนประกอบของน้ำและกรดคาร์บอนิก       น้ำอัดลม ประกอบด้วยน้ำ, น้ำตาล, กรดคาร์บอนิก, กรดฟอสฟอริก, คาเฟอีน, สีและกลิ่นหรือรส รวมถึงสารกันบูด
                                       น้ำตาลในน้ำอัดลมเป็นสารที่ให้ความหวานและพลังงาน น้ำตาลที่ใช้ในน้ำอัดลม
คือ ซูโครส ส่วนในเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ไลท์  (Light), ซีโร (Zero)   หรือ ไดเอท (Diet) นั้น จะใช้สารเคมีให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งจะให้ความหวานแต่ไม่ให้พลังงาน อันนี้ก็ต้องระวัง เพราะสารให้ความหวานบางชนิดจะเป็นพิษต่อร่างกายหรือเป็นสารก่อมะเร็ง                               

                                       กรดคาร์บอนิกเป็นสารที่ทำให้น้ำอัดลมซ่า มีฟองและมีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เกิดจากน้ำกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากัน โดยใช้ความดันสูงบังคับ(อัด)ให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับน้ำให้ได้ กรดคาร์บอนิกที่เกิดขึ้นนั้นไม่เสถียร คือสลายตัวได้ง่ายในสภาวะความดันปกติ  จึงเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า น้ำอัดลม  เมื่อเปิดขวดออกความดันสูงในขวดก็จะลดลงเท่ากับความดันปกติ จึงทำให้กรดคาร์บอนิกสลายตัวออกมาได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดฟองขึ้น กรดคาร์บอนิกยังสามารถย่อยสลายหินปูนได้ จึงสามารถกัดกร่อนกระดูกและฟันได้เช่นกัน                       
                                      กรดคาร์บอนิก (H2CO3) เมื่อมีการสลายตัวจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ดังปฏิกิริยา

อธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาในชวิตประจำวันพร้อมทั้งให้ระบุสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์


สารตั้งต้นคือ
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) 
สารผลิตภัณฑ์ คือ
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน

สารตั้งต้นคือ
K = โพแทสเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
สารผลิตภัณฑ์ คือ
KCl = โพแทสเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
สารตั้งต้น คือ
Na = โซเดียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
สารผลิตภัณฑ์ คือ
NaCl = โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)
H2 = ไฮโดรเจน

แต่ถ้าเปลี่ยนสารตั้งต้นของปฏิกิริยาจากกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นน้ำ (H2O) สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้น เป็นผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
สารตั้งต้น คือ
Mg = แมกนีเซียม
H2O = น้ำ
สารผลิตภัณฑ์ คือ
Mg(OH)2 = แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

สารตั้งตั้น คือ
Na = โซเดียม
H2O = น้ำ
สารผลิตภัณฑ์ คือ
NaOH = โซเดียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน