วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยกตัวอย่างปฏิกิริยาในชีวิตประจำวัน

ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
 1) ปฏิกิริยาการสลายตัวของผงฟู (NaHCO3)      
                         ผงฟูหรือโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือเรียกกันทั่วไปว่า โซดาทำขนม มีประโยชน์ในการทำขนมหลายชนิด  เช่น   เค้ก ขนมถ้วยฟู   ขนมสาลี่ ขนมโดนัท    เมื่อผสมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) ลงในส่วนผสมของขนมแล้วนำไปนึ่งหรืออบ ผงฟู  จะสลายตัวให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งพยายามแทรกตัวออกมา ทำให้เกิดเป็นโพรงอากาศอยู่ทั่วไปในขนม ขนมจึงมีลักษณะพองหรือฟูขึ้น ใส่ในน้ำต้มผักทำให้ผักมีสีเขียว


 2) ปฏิกิริยาในน้ำโซดาและน้ำอัดลม                          
                                       น้ำโซดามีส่วนประกอบของน้ำและกรดคาร์บอนิก       น้ำอัดลม ประกอบด้วยน้ำ, น้ำตาล, กรดคาร์บอนิก, กรดฟอสฟอริก, คาเฟอีน, สีและกลิ่นหรือรส รวมถึงสารกันบูด
                                       น้ำตาลในน้ำอัดลมเป็นสารที่ให้ความหวานและพลังงาน น้ำตาลที่ใช้ในน้ำอัดลม
คือ ซูโครส ส่วนในเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ไลท์  (Light), ซีโร (Zero)   หรือ ไดเอท (Diet) นั้น จะใช้สารเคมีให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งจะให้ความหวานแต่ไม่ให้พลังงาน อันนี้ก็ต้องระวัง เพราะสารให้ความหวานบางชนิดจะเป็นพิษต่อร่างกายหรือเป็นสารก่อมะเร็ง                               

                                       กรดคาร์บอนิกเป็นสารที่ทำให้น้ำอัดลมซ่า มีฟองและมีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เกิดจากน้ำกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากัน โดยใช้ความดันสูงบังคับ(อัด)ให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับน้ำให้ได้ กรดคาร์บอนิกที่เกิดขึ้นนั้นไม่เสถียร คือสลายตัวได้ง่ายในสภาวะความดันปกติ  จึงเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า น้ำอัดลม  เมื่อเปิดขวดออกความดันสูงในขวดก็จะลดลงเท่ากับความดันปกติ จึงทำให้กรดคาร์บอนิกสลายตัวออกมาได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดฟองขึ้น กรดคาร์บอนิกยังสามารถย่อยสลายหินปูนได้ จึงสามารถกัดกร่อนกระดูกและฟันได้เช่นกัน                       
                                      กรดคาร์บอนิก (H2CO3) เมื่อมีการสลายตัวจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ดังปฏิกิริยา

อธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาในชวิตประจำวันพร้อมทั้งให้ระบุสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์


สารตั้งต้นคือ
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) 
สารผลิตภัณฑ์ คือ
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน

สารตั้งต้นคือ
K = โพแทสเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
สารผลิตภัณฑ์ คือ
KCl = โพแทสเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
สารตั้งต้น คือ
Na = โซเดียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
สารผลิตภัณฑ์ คือ
NaCl = โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)
H2 = ไฮโดรเจน

แต่ถ้าเปลี่ยนสารตั้งต้นของปฏิกิริยาจากกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นน้ำ (H2O) สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้น เป็นผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
สารตั้งต้น คือ
Mg = แมกนีเซียม
H2O = น้ำ
สารผลิตภัณฑ์ คือ
Mg(OH)2 = แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

สารตั้งตั้น คือ
Na = โซเดียม
H2O = น้ำ
สารผลิตภัณฑ์ คือ
NaOH = โซเดียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีต่อสุขภาพ

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราค่อนข้างมาก แม้ว่าจะช่วยอำนวยความ
สะดวกสบายให้ชีวิตดียิ่งขึ้น หากแต่การใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็น และเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยนานัปการ

1. หูดับเพราะโทร.นาน
เชื่อหรือไม่ว่าการใช้โทรศัพท์พูดคุยกันตลอดเวลานั้นสามารถทำร้ายหูของเราได้ ดังกรณีของคนที่เคย
ใช้โทรศัพท์มือถือนานกว่า 3,000 นาที (ประมาณ 50 ชั่วโมง) ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือนอาจส่งผลให้หูสูญเสียการได้ยินชั่วคราว หรือเรียกว่าอาการหูดับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะก็จะกลับมาได้ยินเป็นปกติแต่อาจจะไม่ชัดเจนเท่าเดิม และอาจมีโอกาสเกิดอาการหูดับได้อีก

นอกจากนี้เครื่องเล่นเพลงชนิดพกพาและโทรศัพท์มือถือ ยังก่อให้เกิดโรคหูดับได้เช่นกันเนื่องจากเสียง ความร้อน และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าล้วนเป็นตัวการทำร้ายระบบการได้ยิน ซึ่งทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

หูดับและหนวก การใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์ เข้าไปรบกวน
ระบบการทำงานของคลื่นไฟฟ้าและอิเล็กทรอไลต์ในหู รวมทั้งทำให้อวัยวะต่างๆ ภายในหูสั่นสะเทือน ส่งผลให้เกิดความร้อนภายในหู จนสามารถทำลายเซลล์ประสาทหูได้ 

ความดังที่เหมาะสมต่อสุขภาพหูคือ ไม่ควรเกิน 70 เดซิเบล แต่ในการใช้หูฟัง คนส่วนใหญ่จะต้องเปิด
เสียงให้ดังกว่าเสียงแวดล้อมประมาณ 10 เดซิเบลขึ้นไปจึงจะได้ยินชัดเจน ฉะนั้น การอยู่ในที่ที่เสียงแวดล้อมมีความดังมาก เช่น บนเครื่องบิน ในรถโดยสาร บริเวณสถานีรถไฟฟ้า (ประมาณ 95 เดซิเบล) ฯลฯ จึงยิ่งต้องเปิดเสียงให้ดังมากกว่าปกติ คลื่นเสียงที่ดังมากจึงเข้าไปทำปฏิกิริยากับแก้วหูและทำลายเซลล์ประสาทหู 

สาเหตุทั้งสองประการทำให้ระบบการแยกเสียงในเบื้องต้นเสียก่อน จะเริ่มสูญเสียการได้ยินทีละน้อย ซึ่งทำให้เกิดอาการหูดับชั่วคราวหรือร้ายแรงจนถึงขั้นหูหนวก 

ปวดศีรษะ การใช้งานโทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำให้แบตเตอรี่เกิดความร้อน ส่งผลให้หูและศีรษะสัมผัส
ความร้อนโดยตรง แม้จะยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบจากความร้อนที่ชัดเจน แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาหูร้อนสะสม จนลามเป็นอาการปวดศีรษะ

ผิวหนังอักเสบ การใช้หูฟังชนิดครอบทำให้ที่ครอบกดใบหูแนบกับเนื้อบริเวณด้านหลังใบหู นอกจากทำให้เจ็บกระดูกหูแล้ว หากใช้เป็นเวลานานจนเกิดความร้อน จะทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวอักเสบ และติดเชื้อลุกลามจนสามารถทำให้หูอักเสบได้

วิธีฉลาดใช้เพื่อสุขภาพ
1. ควรฟังเพลงจากลำโพงแทนการใช้หูฟัง 
2. หลีกเลี่ยงการฟังเพลงโดยใช้หูฟังในที่ที่มีเสียงแวดล้อมดัง
3. หากใช้หูฟัง ควรเปิดระดับเสียงประมาณครึ่งหนึ่งของเสียงที่เครื่องมีอยู่โดยใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ 
4. หลีกเลี่ยงการฟังเพลงขณะนอนหลับ โดยเฉพาะเพลงที่มีจังหวะเร็วหรือหนัก เพราะทำให้อวัยวะในหูสั่น
สะเทือนและสมองตื่นตัวตลอดเวลา