วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยกตัวอย่างปฏิกิริยาในชีวิตประจำวัน

ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
 1) ปฏิกิริยาการสลายตัวของผงฟู (NaHCO3)      
                         ผงฟูหรือโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือเรียกกันทั่วไปว่า โซดาทำขนม มีประโยชน์ในการทำขนมหลายชนิด  เช่น   เค้ก ขนมถ้วยฟู   ขนมสาลี่ ขนมโดนัท    เมื่อผสมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) ลงในส่วนผสมของขนมแล้วนำไปนึ่งหรืออบ ผงฟู  จะสลายตัวให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งพยายามแทรกตัวออกมา ทำให้เกิดเป็นโพรงอากาศอยู่ทั่วไปในขนม ขนมจึงมีลักษณะพองหรือฟูขึ้น ใส่ในน้ำต้มผักทำให้ผักมีสีเขียว


 2) ปฏิกิริยาในน้ำโซดาและน้ำอัดลม                          
                                       น้ำโซดามีส่วนประกอบของน้ำและกรดคาร์บอนิก       น้ำอัดลม ประกอบด้วยน้ำ, น้ำตาล, กรดคาร์บอนิก, กรดฟอสฟอริก, คาเฟอีน, สีและกลิ่นหรือรส รวมถึงสารกันบูด
                                       น้ำตาลในน้ำอัดลมเป็นสารที่ให้ความหวานและพลังงาน น้ำตาลที่ใช้ในน้ำอัดลม
คือ ซูโครส ส่วนในเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ไลท์  (Light), ซีโร (Zero)   หรือ ไดเอท (Diet) นั้น จะใช้สารเคมีให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งจะให้ความหวานแต่ไม่ให้พลังงาน อันนี้ก็ต้องระวัง เพราะสารให้ความหวานบางชนิดจะเป็นพิษต่อร่างกายหรือเป็นสารก่อมะเร็ง                               

                                       กรดคาร์บอนิกเป็นสารที่ทำให้น้ำอัดลมซ่า มีฟองและมีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เกิดจากน้ำกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากัน โดยใช้ความดันสูงบังคับ(อัด)ให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับน้ำให้ได้ กรดคาร์บอนิกที่เกิดขึ้นนั้นไม่เสถียร คือสลายตัวได้ง่ายในสภาวะความดันปกติ  จึงเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า น้ำอัดลม  เมื่อเปิดขวดออกความดันสูงในขวดก็จะลดลงเท่ากับความดันปกติ จึงทำให้กรดคาร์บอนิกสลายตัวออกมาได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดฟองขึ้น กรดคาร์บอนิกยังสามารถย่อยสลายหินปูนได้ จึงสามารถกัดกร่อนกระดูกและฟันได้เช่นกัน                       
                                      กรดคาร์บอนิก (H2CO3) เมื่อมีการสลายตัวจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ดังปฏิกิริยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น